เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลดี
ในการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีนั้นจะเหมือนกันทุกภาษา คือไม่ว่าเราจะเรียนภาษาอะไร สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือการที่ครูผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรักภาษาอังกฤษก่อน เมื่อนักเรียนรักภาษาอังกฤษแล้วก็จะเรียนด้วยความไม่เครียด และจะสามารถเรียนได้ดี หลายคนบ่นว่าไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่อยากเก่งภาษาอังกฤษ คงจะเป็นไปได้ยากที่เราจะเก่งในสิ่งที่ไม่รัก ดังนั้นเราควรจะหาวิธีที่ทำให้ชอบภาษาอังกฤษก่อน แล้วเราก็จะเก่งภาษาอังกฤษไปเอง ก่อนอื่น เราต้องเริ่มจากการหาวัตถุดิบที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเข้าไปในสมองของเราให้ได้เยอะๆก่อน หรือพยายามสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น การฟังภาษาอังกฤษ การพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษมากๆ โดยการฟังเพลง หรือดูภาพยนตร์ที่เราชอบเป็นภาษาอังกฤษ ทำซ้ำๆหลายๆรอบ พยายามพูดตาม ให้สำเนียงเหมือนให้ได้ แล้วจึงมาหาความหมายในภายหลังว่าคำภาษาอังกฤษนั้นถ้าแปลเป็นไทยแล้ว มีความหมายอย่างไร ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้เราเรียนภาษาอังกฤษได้ผลดีอย่างรวดเร็ว แล้วคำว่า “ภาษาอังกฤษยาก” ก็จะไม่เกิดขึ้นกับท่านอีกต่อไป
การฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง และพูดภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างอัตโนมัติ
"ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง" หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” และ “ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง” เป็นคำพูดที่คนส่วนใหญ่พูดถึงกัน ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วหลายปี ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังต้องเสาะหาที่เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากการเรียนในโรงเรียน และบางคนผ่านการเรียนภาษาอังกฤษจากสถาบันสอนภาษาอังกฤษมาแล้วหลายสถาบัน แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้สักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี เข้าใจดี หรือ บางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะอะไร
สาเหตุที่สำคัญคือ การฟังภาษาอังกฤษ กล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรกก่อน และวิธีการฟังให้ได้ผลดีคือ เราต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบ จนขึ้นใจแล้วพูดตาม ออกเสียงเลียนแบบให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมาย หรือคำแปล ไม่เป็นไร ขอให้พูดภาษาอังกฤษออกมาให้ได้ก่อน เมื่อเราพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นออกมาได้แล้ว เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคภาษาอังกฤษให้มีสะสมในสมองมากขึ้น ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว แล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง ไม่ชัด ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น ตรงนี้อาจต้องอาศัย ครูสอนภาษาอังกฤษ ที่เป็นเจ้าของภาษา เช่นชาวอังกฤษ หรือชาวอเมริกันมาช่วยสอน เพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ถ้าทำเช่นนี้ได้บ่อยๆก็จะสามารถ ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง และพูดภาษาอังกฤษเก่ง
Kingzton English เป็น โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษที่นำหลักการดังกล่าวข้างต้น และวิธีการสอนที่ได้รับการยอมรับมาแล้วจาก 26 ประเทศทั่วโลก มาผสมผสานกับหลักจิตวิทยาการสอนที่เหมาะสมกับคนไทย แล้วพัฒนาออกมาเป็นหลักสูตรการฟังและพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างอัตโนมัติ จากจิตใต้สำนึก
ทำไมเราต้องฟังภาษาอังกฤษให้ได้ เป็นอันดับแรก
"ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษเก่ง” หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” หรือ “ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง” เป็นคำพูดที่มักจะเจอบ่อยๆสำหรับคนที่อยากจะพูดภาษาอังกฤษได้ดี ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วมากมาย บางคนเรียนมาแล้วมากกว่า 10 ปี บางคนเรียนภาษาอังกฤษมากับสถาบันสอนภาษามาแล้วหลายสถาบัน แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี และเข้าใจได้ดี หรือบางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เพราะอะไร ???
สาเหตุที่สำคัญคือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ กล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน และต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจแล้วพูดตาม ออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมาย หรือคำแปล ไม่เป็นไร
การฟังภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดและพัฒนายากที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดของการ เรียนภาษาอังกฤษของคนไทย
เราลองมาเปรียบเทียบดูว่า ภาษาไทยที่เราพูด, อ่าน และเขียนได้ในปัจจุบันล่ะ มีพื้นฐานมาจากอะไร ?? หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา แล้วเลียนเสียงนั้น (คือการพูดตาม) จนพูดได้ หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการอ่าน แล้วจึงตามมาด้วยการเขียน เช่นเดียวกัน หากเราได้ฟังภาษาอังกฤษ หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
ดังนั้นการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก การฟังมากๆ ซ้ำๆ นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้ เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว
หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว แล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องไม่ชัด ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา เช่นชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกัน ที่มีประสบการณ์มาช่วยสอน เพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
เทคนิคการฟังภาษาอังกฤษให้ได้ผลเร็ว
-
ฝึกฟังจากเทป บทสนทนาภาษาอังกฤษ ซึ่งบทสนทนานั้นจะต้องพูดด้วยความเร็วปกติที่ชาวต่างชาติพูด อย่าฝึกฟังจากเทปที่พูดช้ากว่าการพูดปกติของเขา เนื่องจากจะทำให้เราเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษ แบบที่พูดช้าๆ และเมื่อเจอชาวต่างชาติที่พูดด้วยอัตราความเร็วปกติ เราก็ไม่เข้าใจเช่นเดิม
-
การฝึกฟังครั้งแรกๆ ควรเริ่มฟัง ครั้งละ 5 - 10 ประโยค (อย่าฟังประโยคเยอะเกินไปจนไม่สามารถจะจำประโยคเหล่านั้นได้)
-
ขณะที่ฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ต้องมี Script เสมอ
-
ในการฝึกฟังแต่ละครั้ง ต้องฟังให้ได้อย่างน้อย 4 รอบ คือ
-
-
รอบที่ 1 ฟังพร้อม Script และหากเห็นว่าคำใดที่เราเคยออกเสียงไม่เหมือนเขา หรือเราฟังไม่รู้เรื่องแม้จะมี Script ให้หยุดเทป แล้วจดลงในScript ว่า เสียงที่เราได้ยิน นั้นคืออะไร
-
รอบที่ 2 และ 3 ออกเสียงตาม
-
รอบที่ 4, 5, 6, ..... ลองฟังแบบหลับตา โดยไม่มี Script
-
-
ช่วงแรก ขอให้ฝึกฟังประโยคเดิมๆ ด้วยวิธีข้างต้น สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ฝึกทุกวันได้ยิ่งดี) แล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนประโยคให้มากขึ้นเป็น 15-20 ประโยค ต่อการฝึกฟังแต่ละครั้ง
ดังนั้น การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก
การฟังมากๆ ซ้ำๆ นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้ เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว แล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องไม่ชัด ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา เช่นชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกัน ที่มีประสบการณ์มาช่วยสอน เพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ถ้าทำเช่นนี้ได้บ่อยๆก็จะสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง และพูดภาษาอังกฤษเก่ง…. ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหม ?
เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่กล้าและไม่มั่นใจที่จะพูดภาษาอังกฤษ และต้องการครูที่จะสามารถสอน หรือหาวิธีที่จะเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษให้ได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนปัจจุบันกำลังประสบอยู่ แม้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10ปี เราได้ทำการศึกษาปัญหาของคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ พบว่า การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก !! หากคุณมีประสบการณ์ที่ดีในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ คุณจะสามารถพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ตามมาได้อย่างง่ายดาย
แต่หากคุณมีประสบการณ์ในการเริ่มต้นที่เลวร้ายแล้วล่ะก้อ โอกาสที่จะพัฒนาก็ค่อนข้างจะยาก เพราะอะไร เพราะจิตใต้สำนึกที่ส่งมาเตือนคุณอยู่เสมอว่า อย่าพูดเลย เดี๋ยวฝรั่งไม่รู้เรื่องแล้วเราจะหน้าแตก , อย่าพูดเลย เดี๋ยวพูดติดๆขัดๆแล้ว อายเขา..... อะไรต่างๆนานาเหล่านี้จะเข้ามารบกวนจิตใจคุณตลอดเวลาจนคุณตัดสินใจที่จะเดิน หนีฝรั่ง หรือไม่พูดอะไรดีกว่า ซึ่งก็ยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมให้คุณไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษตลอดไป.......แล้วคุณจะเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษได้อย่างไร ??
หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ นั้น จะต้องเริ่มมาจากสิ่งต่อไปนี้
-
ความมั่นใจในการพูด หากคุณมีเด็กเล็ก..น้องๆ หรือหลานๆ ในบ้านคุณ คุณจะเห็นได้ชัดว่าแม้แต่เด็กเล็กยังต้องการความมั่นใจในการเริ่มต้นพูด เขาจะฟังคุณแม่ที่คอยกระตุ้นให้เขาพูด แต่ยังไม่ยอมพูดจนกว่าเขาจะมั่นใจว่า สิ่งที่คุณแม่สอนนั้น เขาเข้าใจได้ถูกต้อง เช่น ชี้คุณพ่อได้ถูกต้อง เมื่อคุณแม่ถามว่าคุณพ่ออยู่ไหน เป็นการทดสอบก่อนว่าสิ่งที่ได้ฟังมานั้นเข้าใจถูกหรือไม่ หากได้รับคำชมจากคุณแม่ หลังจากนั้นไม่นานคุณจะพบว่าเขาจะเริ่มเรียก “พ่อ” ตามสำเนียงของเขาได้ นั่นคือ ประสบการณ์ของเขาสอนให้เขารู้ว่า หากเขามีความมั่นใจแล้วและพูดออกมาได้ถูกต้อง เขาจะได้รับคำชม ในทางกลับกัน หากเขาพูดผิด และผู้ใหญ่หัวเราะด้วยความเอ็นดู แต่เมื่อเด็กรู้สึกอายแล้ว สมองก็จะสั่งไม่ให้เขาพูด เขาก็จะไม่ยอมพูดออกมาจนกว่าจะมีความมั่นใจอีกครั้ง ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจิตใต้สำนึกของเราจึงสั่งให้เราเดินหนีฝรั่ง เมื่อเราไม่มั่นใจ เราจึงควรสร้างความมั่นใจด้วยการฝึกฝนเองหรือให้ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน หรือมีจิตวิทยาในการสอน มาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้
-
ความรู้ในสิ่งที่เราจะพูด สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ หากเราสามารถพูดได้ แต่ไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขากำลังคุยกันอยู่ เราก็ใบ้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรอ่านหนังสือที่เป็นความรู้รอบตัว หรือหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษเรา ก็ควรจะหาข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งนั้น ที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเตรียมดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง หรือหาครูภาษาอังกฤษมาช่วยสอนให้ เป็นการเตรียมการเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่เราอาจจะต้องพูด
-
การใช้คำที่เหมาะสม หากคุณเคยพูดภาษาอังกฤษเล่นๆกับเพื่อน พูดถูกบ้างผิดบ้าง เพื่อนก็เข้าใจคุณ และคุณก็ไม่ได้ศึกษาว่าคำภาษาอังกฤษคำนี้เหมาะสมหรือไม่ หาก จะใช้กับแขกต่างประเทศหรือใช้ในที่ทำงาน ถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแบบเป็นทางการ คุณก็ใบ้ได้อีกเช่นกันว่าเราควรจะพูดประโยคนี้ดีหรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่า เป็นภาษาที่เขาใช้ในสังคมหรือไม่
Kingzton English สามารถช่วยคุณได้ด้วยโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษ ที่เริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆ โดย ครูจะสอบแบบช่วยประคับประคองให้คุณเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษให้ได้ก่อน แล้วจึงมีการสร้างความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษให้แก่คุณด้วยเทคนิคการสอน ที่แตกต่างจากสถาบันอื่น
หลังจากนั้น จะสอนให้คุณออกเสียงด้วยสำเนียงที่ถูกต้องชัดเจน แล้วกระบวนการสอนของสถาบันจะช่วยให้คุณสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่าง อัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัด รวมตลอดถึงสอนการพูดแบบเป็นทางการที่คุณจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้กับคนทั่ว ไปในทุกสถานการณ์
เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
-
จำศัพท์เป็นกลุ่ม วิธีที่จะจำศัพท์ได้ง่าย คุณควรจะต้องจำเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน และกลุ่มคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
-
จำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ถ้าคุณสามารถวาดภาพของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ออกมาเป็นแผนผังหรือจัดหมวดหมู่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์เหล่านั้น แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
-
ใช้อุปกรณ์ช่วย คุณอาจทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยค แล้วนำมาเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง และเพิ่มคำศัพท์เหล่านั้นทุกสัปดาห์ คุณก็จะมีสต๊อคคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
-
สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น เช่น เมื่อกำหนดกลุ่มคำศัพท์ได้แล้วว่า กลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นเป็นสีฟ้า (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีฟ้า เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น), กลุ่มที่สองคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอวัยวะหรือส่วนต่างๆในร่างกาย คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นมีสีเหลือง (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีเหลือง เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) เป็นต้น ซึ่งสีที่แตกต่างกัน จะทำให้จำคำศัพท์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
-
ตั้งเป้าหมายอย่างง่ายๆ แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ คือการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเปิดคำศัพท์เหล่านั้นทบทวนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และตั้งเป้าว่าจะเพิ่มคำศัพท์ 15-20 คำศัพท์ต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ
คุณจะเห็นว่าหากใช้วิธีข้างต้น ไม่ยากเลยในการจำคำศัพท์ให้ได้แม่นยำ ข้อสำคัญคือ ต้องจำคำศัพท์พร้อมกับประโยคที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คำศัพท์เดิมต้องรักษาไว้ อย่าให้ลืม และต้องเพิ่มคำศัพท์ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถพัฒนาการจำคำศัพท์ได้เพิ่มขึ้น และแม่นยำขึ้น